62 ซ.สุขาประชาสรรค์ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

klaitanai.lawyer@gmail.com

คดีละเมิด

หลักกฎหมาย 

        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” 

       ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 “การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย” 

       การกระทำละเมิด คือ การกระทำต่อบุคคลอื่นที่ผิดกฎหมายให้เกิดความเสียหายแก่เขาทุกกรณี ไม่ว่าจะกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ผู้กระทำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่ทำละเมิดเป็นต้นไป ซึ่งค่าเสียหายได้แก่อะไรบ้างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความความเสียหายที่ได้รับเป็นความเสียหายอะไร และเป็นผลโดยตรงมาจากการทำละเมิดหรือไม่ เช่น ค่ารักษาพยานบาล ค่าเสียความสามารถในการประกอบการงาน ค่าเสียหายทางจิตใจหรือค่าเสียหายอันไม่ใช่ตัวเงิน ค่าปลงศพในกรณีที่ถึงแก่ความตาย ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย เป็นต้น  คดีละเมิด เช่น รถชนต์ ถูกทำร้าย อุบัติเหตุต่าง ๆ นินทาว่าร้ายให้ผู้อื่นเสียหาย ถูกกระทำต่อทรัพย์สินทำให้ทรัพย์สินเสียหาย เป็นต้น

หมิ่นประมาททางแพ่ง

            ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423  “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าว      แพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่น ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น 

         ผู้ใดส่งข่าวอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่



เด็กทำให้เกิดความเสียหาย พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องรับผิดหรือไม่ ?

     ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429  “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น” 


            ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”